"เดิน" ฝ่าสายฝน เปียกน้อยกว่า "วิ่ง" จริงดิ ?!?


นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง ด้วยการชั่งเพื่อหาน้ำหนักของคนๆ คนนั้น ก่อนที่จะปล่อยให้ไปลุยฝน แล้วกลับมาชั่งน้ำหนักใหม่ในสภาพเสื้อกำลังอุ้มน้ำชุ่มๆ โดยครั้งแรกฝ่าฝนด้วยการเดิน และครั้งที่สองฝ่าฝนด้วยการวิ่ง เพื่อดูว่าการฝ่าสายฝนแบบไหนที่รับน้ำฝนมากกว่ากัน และแล้วก็ผิดคาดมากๆ เมื่อการลุยฝนด้วยการเดินเปียกน้อยกว่าการวิ่ง


ลองจินตนาการให้ฝนตกลงมา เราจะรู้ได้ว่าฝนนั้นตกในแนวดิ่ง ดังนั้น ถ้าเราใช้วิธีการเดิน อวัยวะของเราก็จะอยู่ในลักษณะคงที่ เราก็จะเปียกจากน้ำฝนที่ตกลงมาในแนวดิ่ง แต่ถ้าเมื่อใดที่เราวิ่ง เรากำลังเข้าหาสายฝนในแนวนอน เมื่อนั้นจะเกิดแรงต้าน ฝนก็พุ่งแนวเฉียงเข้าหาตัวเราเอง (เคยสังเกตมั้ยว่าบางทีเราวิ่ง หรือเดินเร็วๆ จะรู้สึกเหมือนฝนมันสาดเข้าหาเรามากขึ้น นึกว่าลมพัด ที่ไหนได้ทำตัวเองแท้ๆ -*-) การเคลื่อนที่ของร่างกาย เป็นการเพิ่มพื้นที่เปียกมากขึ้นด้วย ส่วนจะเปียกมากน้อยแค่ไหนส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ พูดง่ายๆ ก็คือ ความเร็วที่มากขึ้น มีผลให้น้ำฝนที่ตกลงมีแรงปะทะเข้ากับตัวเองมากกว่าตอนที่เดิน
อกจากนี้ตัวแปรที่มีผลต่อความเปียก ยังมีตัวแปรเรื่องของระยะทาง ถ้าไกลมากก็เปียกมาก, ความเร็วของลม ถ้าลมแรง แล้วยังจะวิ่งต้านลมเข้าไปอีก ทีนี้ล่ะเปียกปอนทั้งตัวแน่ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีตัวแปรในเรื่องของพื้นที่หน้าตัดของวัตถุ(คน) ในการวิ่งหรือเดิน รวมทั้งปริมาณน้ำฝนด้วย


แต่ในมุมมองของพี่มิ้นท์ คิดว่า ถ้าเราไม่มีร่มจริงๆ ก็ไม่ใช่ว่าเดินหน้าตาเฉยนะ แต่ควรเดินด้วยความเร็วระดับหนึ่ง เพื่อให้ถึงบ้านหรือที่หลบฝนไวๆ เพราะถ้าเรามัวแต่เดินเอ้อระเหย ในขณะที่ฝนตกลงมาเรื่อยๆ สุดท้ายเราก็เปียกเยอะอยู่ดี ยิ่งอยู่นานเท่าไหร่ก็ยิ่งเปียกมากขึ้นเท่านั้นนะคะ
ยังไงก็ตาม ทางที่ดีที่สุด ก็คือ การพกร่มในหน้าฝน หรือ ถ้าเห็นท่าไม่ดี ท้องฟ้ามืดตื๋อ ก็รีบหาที่กำบัง รับรองปลอดภัย หายเปียก!!

:http://www.dek-d.com/

0 Response to ""เดิน" ฝ่าสายฝน เปียกน้อยกว่า "วิ่ง" จริงดิ ?!?"

แสดงความคิดเห็น