จดด้วยมือ จำดีกว่านั่งพิมพ์



เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็มีมือถือหรือแท็บเล็ตเอาไว้เป็นออร์แกไนเซอร์ช่วยจำส่วนตัว แต่ถ้าคุณอยากจะจำให้ฝังลงไปในสมองจริงๆ ลองหยิบปากกามานั่งจดอาจจะเวิร์กกว่านะ
โดยเมื่อเร็วๆ นี้ วารสาร Advance in Haptics ตีพิมพ์การศึกษาของสองนักวิจัยจากนอร์เวย์และฝรั่งเศส ซึ่งชี้ว่าการเขียนด้วยมือและการพิมพ์บนคีย์บอร์ดนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแง่การทำงานของสมอง เพราะประสบการณ์ที่ได้สัมผัสปากกาหรือกระดาษจริงๆ จะหลงเหลืออยู่ในสมอง มีการกระตุ้นสมองส่วนที่เรียกว่า Broca's Area ช่วยให้เราสื่อสารและสำรวจสิ่งรอบๆ ตัว และยังใช้เวลานานกว่าการพิมพ์ เราจึงเรียนรู้ได้มากกว่า สาวๆ คนไหนอยากจำอะไรให้แม่นก็ลองจดๆๆๆ ดู ไม่เสียหายเนอะ

จั๊กจี้ตัวเองทำไมถึงไม่รู้สึกจั๊กจี้



เวลาที่เราจั๊กจี้ตัวเอง
"สมองจะรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว จึงระงับปฏิกิริยาตอบสนอง"
แต่ถ้าคนอื่นมาจั๊กจี้แล้วล่ะก็
เราไม่รู้ตัวมาก่อนล่วงหน้า ทำให้สมองสั่งระงับปฏิกิริยานี้ไม่ทัน จึงอดสะดุ้งและหัวเราะไม่ได้
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : หนังสือ ลูกช่างถาม ตอบไม่ได้...อายแย่เลย...!!?

10 วิธีจัดการอารมณ์บูด



1. มองโลกในแง่ดี เมื่อ เรามีความคิดที่ทำให้ซึมเศร้า เช่น "ฉันทำวิชาเลขไม่ได้" ให้คิดใหม่ว่า "ถ้าฉันได้รับความช่วยเหลือที่ถูกต้องฉันก็จะทำได้" แล้วไปหาครู ครูพิเศษ หรือให้เพื่อนช่วยติวให้

2. หาสมุด บันทึกสักเล่มไว้เขียนก่อนเข้านอนทุกวัน ในสมุดบันทึกเล่มนี้ ห้ามเขียนเรื่องไม่ดี จงเขียนแต่เรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ตอนแรกอาจจะยากหน่อย แต่ให้เขียนเรื่องอย่างเช่น มีคนแปลกหน้ายิ้มให้ ถ้าได้ลองตั้งใจทำ มันจะเปลี่ยนความคิดให้เรามองหาแต่เรื่องดีๆ จากการศึกษาพบว่า คนที่คิดฆ่าตัวตายมีอาการดีขึ้นหลังจากเริ่มเขียนบันทึกเรื่องดีๆ ได้เพียงสองสัปดาห์

3. ใช้เวลาอยู่กับคนที่ทำให้เธอหัวเราะได้

4. ใส่ ใจกับความรู้สึกของตนเองในเวลาแต่ละช่วงวัน การตระหนักรู้ถึงอารมณ์ของตัวเองจะทำให้เราจับคู่งานที่เราต้องทำกับระดับ พลังงานในตัวได้อย่างเหมาะสม เช่น ถ้าเรารู้สึกดีที่สุดตอนเช้าแสดงว่าตอนเช้าคือเวลาจัดการกับงานเครียดๆ เช่น ไปเจอเพื่อนที่ทำร้ายจิตใจเรา หรือคุยกับครูที่เราคิดว่าให้เกรดเราผิด ถ้าปรกติเราหมดแรงตอนบ่าย ให้เก็บเวลาช่วงนั้นเอาไว้ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องใช้พลังทางอารมณ์มาก เช่น อ่านหนังสือหรืออยู่กับเพื่อน อย่าทำอะไรเครียดๆ เวลาเหนื่อยหรือเครียด

5. สังเกตอารมณ์ตัวเองในเวลาช่วงต่างๆ ของเดือน ผู้หญิงบางคนพบว่า ช่วงเวลาที่ตัวเองอารมณ์ไม่ดีสัมพันธ์กับรอบเดือน

6. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายช่วยให้เราแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ การออกกำลังกายอย่างน้อยแค่วันละ 20 นาที สามารถทำให้รู้สึกสงบและมีความสุขได้ การออกกำลังจะช่วยเพิ่มการผลิตเอ็นดอร์ฟีนของร่างกายด้วย เอ็นดอร์ฟีนเป็นสารเคมีในร่างกาย ที่ทำให้เกิดความรู้สึกดีและมีความสุขตามธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งยาเสพติด

7. รู้จักไตร่ตรองแยกแยะ

8. ฟัง เพลง งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า จังหวะของเสียงเพลงช่วยจัดระเบียบความคิดและความรู้สึกมั่นคงภายในจิตใจ และช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ

9. โทร หาเพื่อน การขอความช่วยเหลือทำให้คนเรารู้สึกผูกพันกับคนอื่นและรู้สึกโดดเดี่ยวน้อย ลง และการโอบกอดช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกดีออกมา ซึ่งจะช่วยให้เรารับมือกับอารมณ์ได้

10. อยู่ ท่ามกลางคนที่มีความสุข อารมณ์ดีเป็นโรคติดต่อที่แพร่ได้เร็วมา เราจะเลียนแบบสีหน้า การแสดงออก กล้ามเนื้อ ท่าทาง รูปแบบการพูด เพื่อให้เข้ากับคนที่เราอยู่ด้วยโดยที่เราไม่รู้ตัว

นั่งขีดเขียนเล่นๆ ทำให้สมองตื่นตัวเสมอ



นักวิจัยได้ค้นพบว่า การขีดเขียนอะไรเล่น ๆในห้องเรียนหรือในห้องประชุมทำให้สมองตื่นและความจำดี
คณะนักวิจัยมหาวิทยาพลี มัธ ได้ ทดลองทดสอบความจำกับอาสาสมัครซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้วยกัน 40 คน โดยให้คอยรับโทรศัพท์ และให้จำชื่อกับสถานที่เอาไว้ ปรากฏว่าคนที่ชอบขีดเขียนอะไรเล่น ๆ ไปด้วยจะจำได้ดีกว่าถึงร้อยละ 29
ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่า การขีดเขียนมันป้องกันไม่ให้เกิดหลับใน ซึ่งมักจะทำให้ความสนใจถูกหันเหไป และยังช่วยให้คนยังคงจดจ่ออยู่กับสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายอยู่ได้
แจ๊คกี้ แอนเดรด หัวหน้านักวิจัยกล่าวว่า 'ไม่ว่าใครหากทำงานอันน่าเบื่อ อย่างเช่นรับฟังเรื่องสนทนาทางโทรศัพท์ที่น่าเหนื่อยหน่าย มักจะหลับใน การฝันกลางวันทำให้ลืมเรื่องงานไป ทำให้เสียงาน การขีดเขียนอะไรง่าย ๆ ทำให้ไม่หลับ